วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 9/03/2555

 
                    สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้หนาวค่ะ  เพราะวันนี้เป็นวันอาทิตย์และฝนก็ตกลงมาพอดีทำให้บรรยากาศในห้องเรียนหนาว

                    วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้เพื่อใช้และสะดวกในการสอนมากยิ่งขึ้น  แต่ส่วนกลุ่มดิฉันเป็นการสอนหน่อย "ผลไม้" จึงต้องนำผลไม้จริงๆมาใช่เป็นสื่อการสอน


ข้อเสนอแนะของอาจารย์ 
ควรนำเมล็ดผลไม้บางชนิดที่มีเมล็ดนำมาให้เด็กดู  ว่าผลไม้แต่ละชนิดมีเมล็ดเป็นอย่างไรบ้าง  แตกต่างกันอย่างไร  การขยายพันธุ์ของผลไม้ที่มีหลากหลายวิธี  มีอะไรบ้าง เช่น  การชำ  การติดตา  การตอนกิ่ง  การหว่าน  การปลูกด้วยเมล็ดเป็นต้น
การเจริญเติบโตของผลไม้เป็นอย่างไร  เพื่อให้เด็กได้คิดและดึงประสบกาารณ์เดิมกลับนำมาใช้และทำให้เด็กได้เกิดประสบการณ์ใหม่   การถามเด็กต้องใช้คำแบบปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิดและไม่ได้บล็อกความคิดเด็ก   เช่น  เด็กๆคิดว่าจะทำอย่างไรเราจะได้กินผลไม้ตลอดทั้งปี และมีผลไม้กินได้นานๆ  
ส่วนการขยายพันธุ์ที่ครูจะนำมาสอนเด็กๆในวันนี้ครูจะนำการเพาะเมล็ดมาสอนเด็ก   เพราะผลไม้บางชนิดอาจใช่เมล็ดในการเพาะปลูก  เมื่อเรามีเมล็ดผลไม้ที่เด็กรับประทานเด็กๆสามารถเก็บเมล็ดและนำมาปลูกในแปลงเพาะปลูกได้  เช่น  วิธีการปลูกเด็กๆควรเตรียมกะระสำหรับเพาะปลูก  มีดิน  มีเมล็ดผลไม้  มีที่

พรวนดิน  กรวยรดน้ำ  ดังนั้นเมื่อมีครบแล้วเด็กก็สามารถนำดินมาใส่ในกะบะเพาะปลูก นำเมล็ดลงในดิน และดูแลรักษา  รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อต้นกล้าของผลไม้โต  เด็กสามารถแยกต้นกล้าออกมาปลูกลงดิน ดูแลรักษาให้ดีจนออกลูก ออกผล  มาเป็นผลไม้ที่เด็กเห็นและได้รับประทานจนถึงวันนี้  
สื่อ ควรมีภาพการเพาะปลูกและอุปกรณ์  การเจริญเติบโตของต้นกล้ามาจนถึงเป็นต้นผลไม้ที่ออกลูก ออกผล  เมล็ดผลไม้ต่างๆที่เด็กๆสามารถรู้และคิดตามได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 06/03/2555

                 สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานเพราะเตรียมตัวมาสอบสอน
แต่ไม่ได้สอนเพราะเข้าใจผิดว่าอาจารย์จะให้สอบ     อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่วันที่ 21  มีนาคม 2555   เพราะอยากให้นักศึกษามาร่วมงานกันทุกคน  

                 อาจารย์นัดสอบสอนวันอาทิตย์ที่ 9  มีนาคม  และได้บอกถึงเกณฑ์การสอน
การสอน
-การบูรณาการ
-สื่อ
-เทคนิคการสอน
-การประเมิน
อาจารย์ขอตรวจสื่อที่เพื่อนได้ทำสื่อมาเพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อนๆในห้องได้ทำสื่ออย่างถูกต้อง  การที่วาดรูปหรือสัญลักษณ์สามารถแทนคำพูดได้    เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น   การสอนอาจจะนำด้วยนิทาน  คำคล้องจอง  การเคลื่อนไหวที่ตื่นเต้น  ต้องมีไอเดียในการสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 28/02/2555

                  สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากไปศึกษาการสอนของโรงเรียนคหกรรมเกษตรศาสตร์   ของวิชา การจัดประสบการณ์กลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย   ของอาจารย์เสาวลักษณ์
พงษ์สุผล  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 21/02/2555

                       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้เคร่งเครียด
เพราะอาจารย์ตรวจแผนและได้แนะนำการเขียนแผนที่ถูกต้อง   และให้เขียนสื่อที่ต้องใช้ในการสอนว่าต้องการอะไรบ้างในการสอน  เพราะอาจารย์จะนำอุปกรณ์ในห้้องของอาจารย์มาให้ 

หน่วยที่ดิฉันสอนก็คือ หน่วย "แตงโม"   อาจารย์ให้กลับไปแก้ไขและส่งแผนกับอาจารย์อีกครั้ง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 14/02/2555

                    สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้สดใสรื่นเริง  เพราะวันนี้เป็นวันที่ทุกคนมีความรักในวันแห่งความรัก

                    อาจารย์ตรวจแผนและได้อธิบายการเขียนแผนให้ปรับปรุง
การจัดคณิตศาสตร์ของเด็ก
1 ประสบการณ์ 
2 คณิตศาสตร์
3 เด็กปฐมวัย
หลักการเปลี่ยนแปลงและประยุกต์พัฒนามาใช้เสริมประสบการณ์  แก้ไขตรงกับมาตรฐานและแผนใหม่  การแตกแม็ปเพื่อให้รู้หลักการว่านำข้อมูลมาจากไหน  เห็นภาพสาระเนื้อหาที่เราจะเอาไปสอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้และสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ต้องมีมายแม๊ปแนบชุดในแผน
หัวใจของการเขียนแผนเสริมประสบการณ์
- วัตถุประสงค์
เด็กอธิบายการเกิดฝน  ที่เป็นสาระได้
เด็กเกิดทักษะทางภาษา
-ประสบการณ์สำคัญ
เด็กเรียงลำดับการเกิดฝน
เด็กแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็น
-บูรณาการ
เพลง
คำคล้องจอง
นิทาน
-การสอน
1 ครูสนทนากับเด็ก เช่น นิทาน คำคล้องจอง  เพลง
2ขั้นสอน
อธิบายตัวละครหรือบอกส่วนประกอบ
(ขั้นสอนและขั้นนำต้องสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงความคิด  เข้าสู่บูรณากาาร)
เพลงและคำคล้องจองต้องทำ คือ ให้เด็กพูดตามทีละวรรค เด็กจะได้รู้จักภาษาและความสามารถจำความได้
3 มีภาพให้เห็น
สรุป
เรียงลำดับการเกิดฝน(เป็นคณิตศาสตร์) สี ขั้นตอน
ทำสื่อ หรือทดลองวิทยาศาสตร์
ประโยชน์และโทษ


                 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 7 /02/2555

                 สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้สบายๆ

            การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงแผนและบอกว่าการที่เราแก้ไขอะไรต้องแบบอันเก่าแนบกับงานอันใหม่มาด้วยเสมอ  การสอนก็ต้องมีการเชื่อมโยงกัน  เช่น การสอนส่วนประกอบของดอกไม้ต้องมีการเชื่อมโยง เช่น  กลีบ เกสร เมื่อเด็กติดกลีบเลี้ยงเด็กสามารถอ่านจากภาพได้  มีการนับกลีบดอกเกสร  ก้าน ใบ กลีบเลี้ยง  มีจำนวน 5 อย่าง   เด็กสามารถอ่านตัวเลขฮินดูอาร์บิกได้  การพูดเด็กก็จะจำไม่ได้เพราะเด็กไม่สามารถนึกภาพตามที่คุณครูสอนได้เพราะเด็กมีความแตกต่างกัน
            อาจารย์ยกตัวอย่าง การสอน ภาพกิจกรรมศิลปะได้จากคณิตศาสตร์
การเคลื่อนไหว  การอยู่กับที่และเคลื่อนที่  วัตถุประสงค์
1 ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ
2 การเป็นผู้นำ-ผู้ตาม
3 ฟังและปฎิบัติตามคำบรรยาย
4 ฟังและปฎิบัติตามคำสั่ง
5 กำหนดมุมความจำ
6 ปฎิบัติประกอบเพลง
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมี  2  ด้าน
1 เคลื่อนไหวหาพื้นที่
2 กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา
สาระที่ควรรู้  คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง ก้าน เกสร ใบ
เกมการศึกษา  โดมิโน้ จิ๊กซอ ความสัมพันธ์ของแกน เป็นต้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 31/01/2555

                    
                    สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ดูเคร่งเครียดเพราะอาจารย์สอนอธิบายการเขียนแผนที่ถูกต้อง
        
                    เพราะการเขียนแผนต้องสร้างหน่อย ต้องเริ่มจากตัวเด็กยึดเด็กเป็นศนูย์กลาง  ว่าเด็กต้องการเรียนรู้เรื่องหน่อยอะไร  คือ  เริ่มจาก
ตัวเด็ก
- ความสามารถ
- ร่างกาย  อาหารน่ารู้
- เด็กดี
- ข้อมูลส่วนตัว

                   คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ เครื่องมือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์ต้องมีเกณฑ์ในการคิด  เพราะคำถาม
                   สาระที่เด็กควรรู้  หลักสูตรคือแนวทางการสอน ประสบการณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้
                   แนวการจัดประสบการณ์ทั้งที่ครูวางแผนและเด็กอยากรู้โดยให้เด็กลงมือกระทำ เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ความคิดเชิงเหตุผล  คิดวิเคราะห์  คิดเชิงสร้างสรรค์ 
                   การใช้คำถามต้องเป็นปลายเปิดของเด็กปฐมวัย  คือ  ใคร  อะไร  เช่น ถ้าเป็นหนู หนูจะคิดอย่างไรค่ะ  คำว่าเมื่อให้เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์  เด็กก็จะอธิบาย  การหาลายละเอียด คือ การคิดวิเคราะห์  แยกแยะ  คิดเชิงสังเคราะห์ก็คิดเล็กๆย่อยออกมาแล้วมาร่วมกัน

                   ศิลปะเสริมคณิตศาสตร์ คือ การนับ เพราะทำให้เป็นรูปทรงต่างๆ
                   หน่วยที่เด็กอยากรู้  คือ  การสอนแบบโปรเจ็ก
                   มาตรฐานการเรียนรู้  คือ  เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์

                  หน่วยคณิตศาสตร์  มี  6  เรื่อง
1 จำนวนและการดำเนินการ   การบอกปริมาณ  เรื่องของตัวเลขเข้ามา การทำความเข้าใจกับเรื่องปริมาณและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
2 การวัด ซึ่งมาได้จากจำนวนและตัวเลข  ความยาว ปริมาณ เงิน เวลา
3 เรขาคณิตศาสตร์
4 พีชคณิตศาสตร์
5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                   หลักสูตรเป็นที่มาของครูวางแผน  เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็กทั้ง  4 ด้าน
คณิตศาสตร์ที่สอนเด็กต้องดูในกรอบหลักสูตร สสวท ต้องมีมาตรฐาน คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบจะเป็นอย่างไรใน  6 สาระ  ต้องมีมาตรย่อย ต้องมีตัวชี้วัดที่ผ่านมาตร
การนับ  อายุ 3  ปี  บอกจำนวนต่างๆ ไม่เกิน  5 สิ่ง การเปรียบเทียบต่างๆ 2 กลุ่มแต่ไม่เกิน 5 สิ่ง  เช่น  นับผักบุ่งสองต้นมีใบเท่ากันหรือไม่  แต่ละกลุ่มใดมีมากกว่าหรือน้อยกว่า
การนับ  อายุ 4  ปี  บอกจำนวนต่างๆไม่เกิน  10 สิ่ง   การเรียงลำดับจำนวน  เช่น ต้น 1 ต้น มี 2 ใบ ต้น 2 มี 3 ใบ ต้น 3 มี 4 ใบ  เรียงจากน้อยไปหามาก  เรียงลำดับ
จำนวนการอ่านตัวเลข  1 2 ฮินดูอาร์บิก เวลาสอนให้เด็กนับ เช่น ให้เด้กๆนับและไปหยิบตัวเลขมากำกับตัวเลขฮินดูอาร์บิกมาให้ครู   การที่เด็กหยิบคือ เด็กอ่านการที่เด็กหยิบมาวางคือการระบุตัวเลข
การนับ  อายุ  5  ปี  เท่ากันหรือไม่เท่ากัน  มากกว่าหรือน้อยกว่า  ให้เด็กเขียนแต่สามารถให้เด็กได้เขียนได้ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป  เพราะถ้าเด้กอยากเขียนการเปรียบเทียบจำนวน